

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (กxยxส) 16x23x3.6 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.92 กก. |
พิชัยยุทธ์ซุนวู ฉบับหัวซาน
"พิชัยยุทธ์ซุนวู" มีทั้งสิ้น 6,111 ตัวอักษร ซึ่งดูเหมือนแต่ละตัวอักษรจะลึกล้ำพิสดาร ทำให้คนอยากรู้ต้องขยาด ความจริงแล้วขอเพียงเกาะกุมแนวคิดพื้นฐานของพิชัยยุทธ์ ก็จะพบความกระจ่างได้ในทุกถ้อยคำ
"หัวซาน" ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ค้นคว้าพิชัยยุทธ์ซุนวูมากว่า 20 ปี ในหนังสือเล่มนี้เกาะกุมแนวคิดพื้นฐานของพิชัยยุทธ์ ใช้ตัวอย่างการรบที่สำคัญ 155 ครั้ง วิเคราะห์พิชัยยุทธ์ซุนวูอย่างหมดเปลือก ขณะเดียวกันได้อ้างอิงคำอธิบายของนักตีความพิชัยยุทธ์ซุนวูตลอดสองพันกว่าปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น โจโฉ ตู้มู่ และอื่นๆ รวม 11 ท่าน ซึ่งทำการอรรถาธิบายความเดิมของต้นฉบับในมุมมองที่แตกต่างกัน
หนังสือเล่มนี้เขียนด้วยสำนวนที่อ่านง่าย และเรียงลำดับตัวอย่างการรบที่มีชื่อเสียง เช่น การรบหลังพิงน้ำ ล้อมเว่ยช่วยจ้าว เป็นต้น อธิบายจนเหมือนคุณอยู่ในสมรภูมิเอง ได้เห็นการปะทะของกองทัพทั้งสองฝ่าย การต่อสู้ที่ดุเดือดเลือดพล่าน และได้ข้อคิดอย่างลึกซึ้งท่ามกลางเสียงรบราฆ่าฟันสะท้านฟ้าสะเทือนดิน อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะช่วยให้ท่านเข้าถึงพิชัยยุทธ์ซุนวู ได้ง่ายและลึกซึ้ง ราบเรียบแต่พิสดารพันลึก
พิชัยยุทธ์ซุนวู ฉบับหัวซาน
บทที่ 1 การประเมินสถานการณ์
บทที่ 2 การทำศึก
บทที่ 3 กลการรุก
บทที่ 4 รูปแบบการรบ
บทที่ 5 พลานุภาพ
บทที่ 6 ตื้นลึกหนาบาง
บทที่ 7 การสัประยุทธ์
บทที่ 8 เก้าพลิกแพลง
บทที่ 9 การเดินทัพ
บทที่ 10 ลักษณะภูมิประเทศ
ฯลฯ
ISBN : 9789742283858
ผู้แต่ง : Hua Shan (หัวซาน)
ผู้แปล : ชาญ ธนประกอบ
สำนักพิมพ์ : โพสต์บุ๊กส์
หน้า/จำนวนเล่ม : 632 หน้า
ชนิดปก : ปกอ่อน
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
เนื้อหาปกหลัง
ความเดิมที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุด หัวใจของชัยชนะคือ "ประจันด้วยทัพหลัก เอาชัยด้วยทัพสำรอง" มิใช่ "ประจันด้วยทัพหลัก เอาชัยด้วยพิสดาร" อักษรจีนว่า "จี" (อ่านอีกอย่างหนึ่งว่า "ฉี" แปลว่าพิสดาร) ในพิชัยยุทธ์ซุนวูหมายถึงส่วนที่เกิน คือขณะรบต้องเตรียมกองกำลังส่วนเกินหรือกำลังเสริมที่ก่อกวนทัพข้าศึก โดยไม่ทันระวัง มิได้หมายความว่าพิสดารหรือเล่ห์เพทุบายแต่อย่างใด
คำว่า "จี้" ในพิชัยยุทธ์ซุนวูมิได้แปลว่า "แผนหรืออุบาย" แต่แปลว่า "การคำนวณ การนับ" หมายถึงการคำนวณความแตกต่างของกำลังที่แท้จริงระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างแม่นยำ ชัดเจน ถึงความเป็นไปได้ว่าจะชนะหรือแพ้ ถ้ารบไม่ไหวก็ต้องหลบ จะหวังโชคดีช่วยมิได้
แต่ไรมาซุนวูไม่เคยมุ่งจะให้ "รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" ในความเป็นจริงซุนวูคัดค้านการรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นนัยว่ารบชนะถึงร้อยครั้งแล้วยังคงจัดการข้าศึกอย่างเด็ดขาดไม่ได้ ทำให้สิ้นเปลืองทั้งชีวิตและทรัพยากรของทั้งสองฝ่าย พิชัยยุทธ์ซุนวูไม่เพียงต้องการสงวนชีวิตและทรัพยากรของฝ่ายเราเท่านั้น แต่ยังพยายามสงวนชีวิตและทรัพยากรของฝ่ายข้าศึกด้วย ดังนั้นจึงมุ่งพิชิตศึกให้แตกหักด้วยการรบครั้งเดียว